เรียนฟรี อาหารฟรี มีรถรับส่ง
ปฏิวัติการศึกษา
สวัสดิการครบวงจร
การศึกษาที่ฟรีจริง
สวัสดิการ “เติบโต”
นักเรียน
ปัญหา

ถึงแม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายเรียนฟรีในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการอุดหนุนเงินให้กับโรงเรียนเป็นเงินรายหัว แต่ในความเป็นจริงนั้น การเรียนยังไม่ฟรีจริง ทำให้ผู้ปกครองมีภาระค่าใช้จ่ายจริงที่ต้องแบกรับ

รายงาน กสศ. ระบุว่ามี “ค่าใช้จ่ายแอบแฝงทางการศึกษา” สูงถึง 2,000-6,000 บาท ต่อคนต่อปี (เช่น ค่าบำรุงการศึกษา, ค่าเครื่องแบบ, ค่าหนังสือ/อุปกรณ์การเรียน และ ค่าเดินทางไปเรียน)

ความไม่เป็นธรรมและภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขมายาวนาน จนทำให้วิกฤตเศรษฐกิจที่เข้ามาในช่วงโควิดที่ผ่านมา ส่งผลให้มีเด็กที่ตกหล่นออกจากระบบการศึกษาสูงเกิน 200,000 คน (จากรายงานของกระทรวงศึกษาธิการ 2564)

นอกจากนี้ การอุดหนุนเงินสำหรับการจัดการการเรียนสอนที่ให้ตรงไปที่โรงเรียน ยังถูกจัดสรรโดยคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายต่อหัวคูณด้วยจำนวนนักเรียนเป็นหลัก ทำให้เกิดผลกระทบต่อโรงเรียนขนาดเล็กหรือโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่มีความต้องการเฉพาะ ที่ได้รับงบประมาณและทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน เป็นผลให้คุณภาพการศึกษาเกิดความเหลื่อมล้ำกันระหว่างแต่ละโรงเรียน

ข้อเสนอ
  • ป้องกันการตกหล่นทางการศึกษาในอนาคต ผ่านการเพิ่มงบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 4,000 ล้านบาท และเพิ่มกลไกอื่น ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมถึงเร่งดำเนินการให้เยาวชนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา สามารถกลับเข้าสู่ระบบหรือเข้าถึงช่องทางการศึกษาที่เหมาะสมกับตนเองได้
  • เพิ่มงบประมาณรายหัวนักเรียนในส่วนของค่าอาหาร ตั้งแต่ระดับประถมถึงมัธยมปลาย (รวมถึง ปวช.) เฉลี่ยประมาณ 500 บาท/เดือน
  • เพิ่มงบประมาณรายหัวนักเรียนในส่วนของค่าเดินทาง ระดับประถม 200 บาท/เดือน ระดับมัธยม 300 บาท/เดือน รวมถึงเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยของรถโรงเรียน (เช่น ใบอนุญาตเฉพาะ เกณฑ์ด้านการตรวจสภาพรถ เครื่องมือแจ้งเตือนในรถ)
บอกต่อนโยบาย
สร้างป้ายหาเสียงของคุณ!
ออกแบบป้ายหาเสียงเกี่ยวกับนโยบายของก้าวไกลที่คุณชื่นชอบ เพื่อส่งเสียงให้ก้าวไกลเข้าไปเปลี่ยนแปลงประเทศไทยแบบที่คุณอยากเห็น
----
*โปรดเลือกใช้ภาพของตนเอง โดยไม่ใช่ภาพของบุคคลอื่นที่เป็นการกล่าวหาหรือทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นความเห็นของบุคคลอื่น
ลุย