ยกเลิกกฎระเบียบและคำสั่ง คสช. ที่ล็อกคอ-ล้วงลูกท้องถิ่น
จังหวัดจัดการตนเอง
ท้องถิ่น
นโยบาย 100 วันแรก
ท้องถิ่นจัดทำบริการสาธารณะ
นโยบาย ผลักดันต่อ
ปัญหา

ท้องถิ่นคือหน่วยงานรัฐที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด ทุกปัญหา ประชาชนจะคิดถึงท้องถิ่นเป็นหน่วยงานแรก และ ทุกท้องถิ่นมีทั้งแรงจูงใจและแรงกดดัน ในการแก้ปัญหาและพัฒนาบริการ จากประชาชนในพื้นที่โดยตรงเพราะประชาชนเลือกมา ดังนั้นท้องถิ่นจึงควรเป็นหน่วยงานหลักในการทำบริการสาธารณะให้ประชาชน ท้องถิ่นจึงควรเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะในพื้นที่

แต่ที่ผ่านมามีอุปสรรค 2 ประการสำคัญ ที่ทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถดูแลประชาชนหรือพัฒนาพื้นที่ได้อย่างที่ควรจะเป็น

1. กฎหมายเขียนถึงอำนาจท้องถิ่นแบบ “positive list” ที่ระบุเป็นข้อๆ ว่าท้องถิ่นมีอำนาจในด้านใดบ้าง - เมื่อมีภารกิจใดที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาในพื้นที่ แต่ไม่มีความชัดเจนว่าเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ ท้องถิ่นจึงอาจลังเลที่จะทำภารกิจนั้น เพราะกังวลว่าอาจถูกสอบสวนหรือชี้มูลเอาผิด

2. กฎหมายให้อำนาจทับซ้อนระหว่างท้องถิ่นและส่วนกลาง - ประเทศไทยมีกฎหมายหลายฉบับ ที่ให้อำนาจหน่วยงานส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค ซ้ำซ้อนกับส่วนท้องถิ่น ทำให้บางครั้งเกิดความสับสนว่าภารกิจดังกล่าว ใครควรเป็นคนทำ โดยในกลายกรณี องค์กรตรวจสอบ เช่น สตง. มักตีความ “ไม่เป็นคุณ” กับท้องถิ่น และให้เป็นอำนาจส่วนกลางเป็นหลัก (เช่น การฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ที่น่าจะเข้าข่ายเป็นอำนาจของท้องถิ่น แต่ขณะเดียวกันก็มีกฎหมายให้อำนาจกรมปศุสัตว์ด้วย)

ข้อเสนอ
  • ยกเลิกคำสั่ง คสช. 8/2560 ที่เข้ามาแทรกแซงการบริหารงานบุคคลของ อปท. ทำให้ท้องถิ่นขาดกำลังคน
  • ยกเลิกกฎระเบียบของกระทรวงมหาดไทย ที่จำกัดอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และไม่จำเป็นต่อการบริหารราชการท้องถิ่น เช่น การใช้จ่ายประมาณของท้องถิ่น การสอบสวนผู้บริหารท้องถิ่น การลาของผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น การเห็นชอบข้อบัญญัติท้องถิ่น
บอกต่อนโยบาย
สร้างป้ายหาเสียงของคุณ!
ออกแบบป้ายหาเสียงเกี่ยวกับนโยบายของก้าวไกลที่คุณชื่นชอบ เพื่อส่งเสียงให้ก้าวไกลเข้าไปเปลี่ยนแปลงประเทศไทยแบบที่คุณอยากเห็น
----
*โปรดเลือกใช้ภาพของตนเอง โดยไม่ใช่ภาพของบุคคลอื่นที่เป็นการกล่าวหาหรือทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นความเห็นของบุคคลอื่น
ลุย