ท้องถิ่นมีช่องทางหารายได้ใหม่ กู้เงิน-ออกพันธบัตร
จังหวัดจัดการตนเอง
ท้องถิ่น
ท้องถิ่นจัดทำบริการสาธารณะ
ปัญหา

งบประมาณเป็นปัจจัยสำคัญในการแปรความคิดให้กลายเป็นความจริง ท้องถิ่นแม้มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้าหรือโครงการที่สร้างสรรค์ แต่ถ้าขาดงบประมาณที่เพียงพอ ก็ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามความตั้งใจได้

เดิม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542 กำหนดเป้าหมายให้ อปท. มีรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลไม่น้อยกว่า 35% แต่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาเป้าหมาย ทำให้ขาดสภาพบังคับ ส่วนกลางไม่ได้ขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ผ่านมา 20 ปี สัดส่วนนี้จึงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 29% แถมในจำนวนนี้ ประมาณ 1 ใน 5 ยังเป็น “งบฝาก” ที่ท้องถิ่นไม่มีอิสระในการตัดสินใจ เป็นแต่เพียงการใช้จ่ายตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดมา (เช่น เบี้ยผู้สูงอายุ)

สำหรับโครงสร้างรายได้ของท้องถิ่นปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ งบที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง (ประมาณ 10%) งบที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้ (ประมาณ 50%) และ เงินอุดหนุนผ่านงบประมาณแผ่นดิน (ประมาณ 40%)

การที่สัดส่วนรายได้ของท้องถิ่นยังไม่ถึงเป้า แถมระยะเวลาที่กำหนดให้ต้องเดินไปถึงเป้าก็เลื่อนลอย ส่งผลให้ท้องถิ่นได้รับงบไม่เพียงพอกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น ขาดอิสรภาพทางการเงิน ต้องพึ่งพาเงินจากส่วนกลางเป็นหลัก ไม่สามารถหารายได้จากทางอื่นเนื่องจากกฎหมายไม่เปิดช่อง กลายเป็นข้อจำกัดในการจัดทำบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ต่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นนั้นจะมีวิสัยทัศน์หรือความรู้ความสามารถมากแค่ไหนก็ตาม

ข้อเสนอ
  • ปลดล็อกให้ท้องถิ่นมีอำนาจหารายได้ผ่านช่องทางใหม่ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากส่วนกลาง (เช่น กู้เงิน ออกพันธบัตร ร่วมทุนเอกชน ตั้งสหการ สร้างวิสาหกิจท้องถิ่นเอง)
บอกต่อนโยบาย
สร้างป้ายหาเสียงของคุณ!
ออกแบบป้ายหาเสียงเกี่ยวกับนโยบายของก้าวไกลที่คุณชื่นชอบ เพื่อส่งเสียงให้ก้าวไกลเข้าไปเปลี่ยนแปลงประเทศไทยแบบที่คุณอยากเห็น
----
*โปรดเลือกใช้ภาพของตนเอง โดยไม่ใช่ภาพของบุคคลอื่นที่เป็นการกล่าวหาหรือทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นความเห็นของบุคคลอื่น
ลุย