ประชามติยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค ไม่มีใครตกงาน-เสียประโยชน์
ปัญหา
ผู้บริหารจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นกลไกที่จำเป็นให้การพัฒนาพื้นที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากที่สุด และทำให้ผู้บริหารต้องรับผิดชอบต่อผลงานในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่
แม้ประเทศไทยเปิดทางให้ประชาชนเลือกผู้บริหารท้องถิ่น (เช่น นายก อบจ. / นายก อบต. / นายกเทศมนตรี) แต่ผู้บริหารสูงสุดของจังหวัด ยังคงเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้งของกระทรวงมหาดไทย ทำให้ผู้บริหารท้องถิ่นไม่สามารถแสดงบทบาทได้เต็มที่และหลายครั้งถูกควบคุมสั่งการหรือแทรกแซงจากผู้ว่าฯแต่งตั้ง จนกระทบต่อการทำงานเพื่อสนองความต้องการของประชาชน
หากราชการส่วนภูมิภาค (นำโดย ผู้ว่าฯ แต่งตั้ง) ยังคงมีอำนาจเหนือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (นำโดย นายกฯ อบจ.) การบริหารจังหวัดจะไม่ยึดโยงกับประชาชนเท่าที่ควรจะเป็น
ข้อเสนอ
- จัดให้มีประชามติภายใน 1 ปี เพื่อถามประชาชนว่าเห็นชอบหรือไม่ ให้มีการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค และโอนถ่ายอำนาจการบริหารจังหวัดไปสู่ท้องถิ่น
- หากประชามติได้รับความเห็นชอบจากประชาชน จะปูทางไปสู่
- การเปลี่ยนสังกัดของข้าราชการส่วนภูมิภาคและฝ่ายท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) โดยไม่มีตำแหน่งใดที่หาย และไม่มีใครตกงานหรือสูญเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับ เดิมที่ทำแยกกันภายใต้ผู้ว่าฯแต่งตั้ง-อธิบดีกรม-ปลัดกระทรวง เป็นการทำงานร่วมกันภายใต้ผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่ จากเดิมที่ทำงานแยกกันภายใต้ผู้ว่าฯแต่งตั้ง-อธิบดีกรม-ปลัดกระทรวง ที่ถูกแต่งตั้งโดยราชการส่วนกลาง ไปเป็นรูปแบบใหม่ที่มีการทำงานร่วมกันภายใต้ผู้บริหารท้องถิ่น (นายกจังหวัด) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่