ศูนย์เลี้ยงเด็กอ่อน-เด็กก่อนวัยเรียนใกล้บ้าน ห้องปั๊มนมในที่ทำงาน
ทหาร
ท้องถิ่น
ผู้ผลิตงานสร้างสรรค์
ประมง
สวัสดิการครบวงจร
สวัสดิการ “เกิด”
ตำรวจ
แรงงาน
เกษตรกร
ปัญหา

ปัจจุบันอัตราการเกิดของประเทศไทยลดลงอย่างมาก จากที่เคยอยู่ในระดับปีละ 800,000 คนในช่วงปี 2546-2554 ลดลงเหลือเพียง 544,570 คนในปี 2564 ยิ่งไปกว่านั้น 2564 นับเป็นปีแรกตั้งแต่มีการเก็บสถิติ ที่จำนวนเด็กเกิดใหม่ในประเทศ น้อยกว่าจำนวนคนที่เสียชีวิต ซึ่งตอกย้ำถึงวิกฤตสังคมสูงวัยที่สัดส่วนคนวัยทำงานมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่อง

แน่นอนว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พ่อแม่หลายคน ตัดสินใจมีลูกน้อยลง มีส่วนมาจากความกังวลเรื่องภาระค่าใช้จ่ายและสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการมีบุตรซึ่งถูกสะท้อนออกมาผ่านความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากรการเลี้ยงดูลูก เช่น นมแม่ โภชนาการ หนังสือนิทาน

ข้อเสนอ
  • เพิ่มงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อส่งเสริมการดูแลเด็กช่วงปฐมวัยตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น
    • เด็กอ่อนอายุ 0-2 ปี ที่ปัจจุบันขาดการดูแลจากรัฐ อปท. จัดการงบประมาณได้ตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กอ่อนเอง พัฒนาศูนย์เด็กเล็กเดิมให้ดูแลเด็กอ่อนเพิ่มได้
    • เด็กก่อนวัยเรียน 2-6 ปี อปท. สามารถนำงบไปพัฒนาศูนย์ที่มีอยู่แล้วได้ตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น เพิ่มจำนวนผู้ดูแลเด็กให้มากเพียงพอ ปรับปรุงศูนย์ให้มีมาตรฐาน (เช่น ห้องน้ำที่มีสุขอนามัย เก้าอี้ โต๊ะ เครื่องใช้ที่มีขนาดเหมาะสมกับเด็ก ปรับปรุงห้องเรียนที่ปูพื้นยาง เครื่องเล่นหุ้มนวมลบเหลี่ยมเสาที่ป้องกันอุบัติเหตุ)
    • หากในท้องถิ่นนั้นมีศูนย์เลี้ยงเด็กอ่อน-เด็กเล็กเอกชนที่มีคุณภาพอยู่แล้ว หรือการลงทุนเพิ่มในศูนย์เดิมยังไม่ตอบโจทย์คนในพื้นที่ อปท.มีอิสระที่จะเลือกอุดหนุนงบประมาณให้สถานเลี้ยงเด็กเอกชน หรือนำไปเป็นเงินรายหัวเพิ่มเติมให้ครอบครัวเด็กได้
  • ใช้กลไกของ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน กำหนดให้อาคารสำนักงานและสถานประกอบการขนาดใหญ่จำเป็นต้องจัดให้มีสถานที่เลี้ยงดูเด็กเล็กและสิ่งที่เกี่ยวข้อง (เช่น ห้องปั๊มนม) ในหรือใกล้อาคารสำนักงานหรือสถานประกอบการ เพื่อความสะดวกต่อการดูแลบุตรของพ่อแม่
บอกต่อนโยบาย
สร้างป้ายหาเสียงของคุณ!
ออกแบบป้ายหาเสียงเกี่ยวกับนโยบายของก้าวไกลที่คุณชื่นชอบ เพื่อส่งเสียงให้ก้าวไกลเข้าไปเปลี่ยนแปลงประเทศไทยแบบที่คุณอยากเห็น
----
*โปรดเลือกใช้ภาพของตนเอง โดยไม่ใช่ภาพของบุคคลอื่นที่เป็นการกล่าวหาหรือทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นความเห็นของบุคคลอื่น
ลุย