วัคซีนเพิ่มเติมฟรีในเด็กและผู้ใหญ่
สุขภาพดี ทั้งกาย-ใจ
สุขภาพกายดี
ปัญหา

ปัจจุบันนโยบายสาธารณสุขของไทย เน้นเรื่องด้านการรักษามากกว่าด้านการป้องกัน ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้คนรักษาสุขภาพโฆษณาของ สสส. ก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีแรงจูงใจที่มากพอให้ประชาชนปรับพฤติกรรมสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้นโดยเฉพาะด้านการบริโภค (เช่น กินอาหารรสจัด ดื่มสุรา สูบบุหรี่) ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ นำไปสู่กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของไทย นอกจากนี้ภาครัฐยังขาดการส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้กับคนไทย (เช่น การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพประจำปี และการรักษาโรคตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด) ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยระยะยาว ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

นอกจากนั้น สิทธิประโยชน์ในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์บางประการที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพของคนไทย อาทิ แว่นตาสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี การคัดกรองมะเร็ง วัคซีนป้องกันโรคบางโรคสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ และการตรวจสุขภาพจิต ซึ่งสิทธิประโยชน์เหล่านี้มีความคุ้มค่าในเชิงป้องกันมากกว่าการรักษา หรือหากพบโรค (ในกรณีโรคมะเร็ง) ในระยะเวลาที่รวดเร็วย่อมทำการรักษาได้ง่ายกว่าและประหยัดค่าใช้ในการรักษาได้มากกว่า

ข้อเสนอ
    • วัคซีนเด็ก - เพิ่มวัคซีนหลายประเภท
      • โรคไข้หวัดใหญ่
      • โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่กลับมาระบาดสูงอีกครั้ง และพบมากที่สุดในเด็กช่วงอายุ 5-14 ปี การฉีดวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี่ ลดความรุนแรงของโรคได้กว่า 80 %
      • โรคพิษสุนัขบ้า การฉีดวัคซีนตั้งแต่เด็กจะช่วยลดจำนวนวัคซีนที่ต้องฉีดกรณีที่พบว่าเสี่ยงได้รับโรคพิษสุนัขบ้าในภายหลัง ซึ่งวัคซีนที่ต้องฉีดหากไม่เคยได้รับวัคซีนพิษสุนัขบ้ามาก่อนมีราคาที่ค่อนข้างสูง
      • โรคอีสุกอีใส โดยฉีดเป็นวัคซีน MMRV ที่รวมเข็มกับวัคซีน คางทูม หัด หัดเยอรมัน หรือ MMR ในวัคซีนจำเป็นเดิม
    • วัคซีนผู้สูงอายุ - เพิ่มวัคซีนปอดอักเสบ
      • โรคปอดอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด สำหรับผู้สูงวัย ฉีดเข็มเดียวแต่ป้องกันได้ตลอดชีวิต โดยอาการปอดบวมและติดเชื้อในกระแสเลือด ถือเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตหลักของผู้สูงอายุ
บอกต่อนโยบาย
สร้างป้ายหาเสียงของคุณ!
ออกแบบป้ายหาเสียงเกี่ยวกับนโยบายของก้าวไกลที่คุณชื่นชอบ เพื่อส่งเสียงให้ก้าวไกลเข้าไปเปลี่ยนแปลงประเทศไทยแบบที่คุณอยากเห็น
----
*โปรดเลือกใช้ภาพของตนเอง โดยไม่ใช่ภาพของบุคคลอื่นที่เป็นการกล่าวหาหรือทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นความเห็นของบุคคลอื่น
ลุย