แก้ไขกฏหมายที่เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพในการแสดงออก (มาตรา 116 / พ.ร.บ. คอมฯ)
ประชาธิปไตยเต็มใบ
คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
นโยบาย ผลักดันต่อ
ปัญหา

ศาลหรือฝ่ายตุลาการ เป็นส่วนสำคัญของกลไกรัฐที่ประชาชนคาดหวังให้ทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง เป็นอิสระจากการถูกแทรกแซง และด้วยมาตรฐานที่คงเส้นคงวา เพื่อความยุติธรรมของประชาชนทุกคน แต่ที่ผ่านมา คำพิพากษาและคำวินิจฉัยของศาลในหลายกรณีทางการเมือง ทำให้สังคมเริ่มตั้งคำถามมากขึ้นถึงความเป็นอิสระในการทำหน้าที่ดังกล่าว และการขาดกลไกตรวจสอบถ่วงดุลศาลที่ประชาชนมีส่วนร่วม

ยิ่งไปกว่านั้น เสรีภาพขั้นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย แต่ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลได้มีการออกและบังคับใช้กฎหมายหลายฉบับเพื่อพยายามปิดกั้นการแสดงออกของประชาชนที่เห็นต่างหรือวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ดังนั้น ปัญหาในเชิงหลักนิติธรรมทางกฎหมายจึงมีความสำคัญและจำเป็นต้องทบทวนเพื่อให้เกิดเสรีภาพและความเท่าเทียมตามมาตรฐานประชาธิปไตยสากล

ข้อเสนอ
  • ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 - แก้ไขเพื่อตัดเนื้อหาที่มีความคลุมเครือ ทำให้การกระทำที่เข้าข่ายฐานความผิดมีขอบเขตที่ชัดเจน และ ห้ามไม่ให้นำสู่การดำเนินคดีกับผู้ใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญหรือติชมโดยสุจริต
  • พ.ร.บ.คอมฯ - แก้ไขให้ฐานความผิดมีความรัดกุมขึ้น โดยเน้นไปที่การป้องกันการแฮ็กข้อมูล ปลอมแปลงหรือหลอกหลวงในระบบออนไลน์ และไม่เปิดช่องให้ถูกตีความอย่างกว้างขวางไปถึงการจำกัดการแสดงความเห็นทางออนไลน์
  • กฎหมายต่อต้าน SLAPP - นิยาม ‘คดีปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ’ เข้าไปในกฎหมาย วางกระบวนการให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสามารถยื่นคำร้องต่ออัยการหรือศาลให้พิจารณาสั่งไม่ฟ้องหรือยกฟ้องกรณีที่เป็นคดีปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ
  • พ.ร.บ. ชุมนุม - คุ้มครองสิทธิในการชุมนุมโดยสันติผ่านการตัดข้อบังคับที่กำหนดให้ต้องมีการแจ้งการชุมนุมล่วงหน้า ควบคู่กับคุ้มครองผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมผ่านการกำหนดมาตรการของรัฐในการเยียวยาค่าเสียหาย
บอกต่อนโยบาย
สร้างป้ายหาเสียงของคุณ!
ออกแบบป้ายหาเสียงเกี่ยวกับนโยบายของก้าวไกลที่คุณชื่นชอบ เพื่อส่งเสียงให้ก้าวไกลเข้าไปเปลี่ยนแปลงประเทศไทยแบบที่คุณอยากเห็น
----
*โปรดเลือกใช้ภาพของตนเอง โดยไม่ใช่ภาพของบุคคลอื่นที่เป็นการกล่าวหาหรือทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นความเห็นของบุคคลอื่น
ลุย