กองทุนปรับตัวรับมือภัยพิบัติ-น้ำท่วม
สิ่งแวดล้อมยั่งยืน
รับมือกับวิกฤตสภาพอากาศ
ปัญหา

ภาวะโลกร้อนทำให้ความรุนแรงและความถี่ของภัยพิบัติเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกระทบต่อชีวิตผู้คน และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยอ้างอิงจากข้อมูลย้อนหลัง 20 ปี ตั้งแต่ปี 2543 - 2562 พบว่าประเทศไทยมีดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศโลก(Global Climate Risk Index) สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก

นอกจากนี้ ภาวะโลกร้อนยังสร้างความเสียหายในระยะยาวให้กับภาคการเกษตร โดยมีการศึกษาพบว่า หากไม่มีการปรับตัว ภาวะโลกร้อนจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงอย่างน้อยร้อยละ 6 ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยพื้นที่เกษตรไม่อยู่ในเขตชลประทาน หรือ หรือในพื้นที่เกษตรที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวจะได้รับผลกระทบสูงกว่า จึงจำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริมเพื่อให้ปรับตัวพร้อมรับมือกับสภาวะโลกร้อนได้

ข้อเสนอ
  • สนับสนุนการปรับตัวรับมือกับภาวะโลกร้อนในระดับไร่นา ระดับชุมชน และ ระดับเมือง ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นา/ท้องถิ่น การพัฒนาพันธุ์พืช/สัตว์พื้นบ้านที่มีความแข็งแรงและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อลดฝุ่นละอองและความร้อนในเมือง)
  • ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การเกษตรที่มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม (เช่น พันธุ์พืชที่ทนร้อน/แล้งมากขึ้น การออกแบบเมือง/สิ่งปลูกสร้าง/วัสดุอาคาร ในเมืองที่รับมือกับภาวะโลกร้อน รวมถึงระบบหน่วงน้ำและระบายน้ำในเมือง)
บอกต่อนโยบาย
สร้างป้ายหาเสียงของคุณ!
ออกแบบป้ายหาเสียงเกี่ยวกับนโยบายของก้าวไกลที่คุณชื่นชอบ เพื่อส่งเสียงให้ก้าวไกลเข้าไปเปลี่ยนแปลงประเทศไทยแบบที่คุณอยากเห็น
----
*โปรดเลือกใช้ภาพของตนเอง โดยไม่ใช่ภาพของบุคคลอื่นที่เป็นการกล่าวหาหรือทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นความเห็นของบุคคลอื่น
ลุย