กำหนดเพดานปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม เปิดตลาดค้าขายแลกเปลี่ยน (cap & trade)
สิ่งแวดล้อมยั่งยืน
นโยบาย ไฮไลท์
จัดการต้นตอก๊าซเรือนกระจก
ปัญหา

ปัจจุบัน หลายๆ ประเทศตั้งเป้าและเอาจริงเอาจังกับการเดินหน้ามุ่งสู่สังคมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือ Net Zero Emission แต่การตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรัฐบาลไทยในปี 2030 ไว้ที่ 333 ล้านตัน CO2 ในปี 2030 เท่ากับว่า จริงๆ แล้วการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงเพียง 10% เมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยในปี 2018 (373 ล้านตัน CO2 ในปี 2018) เท่านั้น

พรรคก้าวไกลจึงเสนอให้ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายกว่านั้น โดยตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 ที่ 300 ล้านตัน CO2 หรือเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 19.5% เมื่อเทียบกับการปล่อยในปี 2018 แทนที่จะเป็น 10% อย่างที่รัฐบาลไทยเสนอ

การตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 73 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ จะมาจากการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก ด้วยการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน การยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินให้เร็วขึ้น ตามมาด้วยการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและขนส่งสาธารณะให้เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และการจัดการของเสีย ตามลำดับ โดยการดำเนินการทั้งหมดจะต้องยึดหลักการที่จะให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวอย่างกว้างขวางที่สุด และร่วมได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านของระบบพลังงานนี้อย่างเป็นรูปธรรม หรือที่เรียกว่า Just Energy Transition การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานที่เป็นธรรม

ข้อเสนอ
  • กำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมที่สำคัญ (เช่น ซีเมนต์ ปิโตรเคมี เหล็ก/โลหะ กระดาษ) โดยรัฐ และตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกในรายอุตสาหกรรม
  • เปิดตลาดสำหรับการค้าขายแลกเปลี่ยนโควต้าหรือเครดิตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กรอบเพดานปริมาณที่รัฐกำหนด
  • สนับสนุน green finance เป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับอุตสาหกรรมที่ลงทุนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
บอกต่อนโยบาย
สร้างป้ายหาเสียงของคุณ!
ออกแบบป้ายหาเสียงเกี่ยวกับนโยบายของก้าวไกลที่คุณชื่นชอบ เพื่อส่งเสียงให้ก้าวไกลเข้าไปเปลี่ยนแปลงประเทศไทยแบบที่คุณอยากเห็น
----
*โปรดเลือกใช้ภาพของตนเอง โดยไม่ใช่ภาพของบุคคลอื่นที่เป็นการกล่าวหาหรือทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นความเห็นของบุคคลอื่น
ลุย