กระจายงบพัฒนาแหล่งน้ำให้ท้องถิ่น ครอบคลุมพื้นที่นอกเขตชลประทาน
เกษตรก้าวหน้า
ท้องถิ่น
ลดต้นทุนเกษตรกร
เกษตรกร
ปัญหา

เกษตรกรไทยที่ปลูกพืชเศรษฐกิจหลักอย่าง ข้าว ยางพารา และอ้อย ประสบปัญหาการขาดทุนจากการทำเกษตร นับตั้งแต่ปี 2556 (ราคาสุทธิเฉลี่ยต่อครัวเรือนของเกษตรกรอยู่ที่ 260 บาท/วัน น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน)

อย่างกรณีของข้าว ในรอบ 50 ปี ราคาข้าวขึ้นมา 3.5 เท่า แต่ต้นทุนการเกษตร โดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมีขึ้นมาถึง 11.4 เท่า

ส่งผลให้เกษตรกรไทยอยู่ในวังวนของหนี้สินจากการทำเกษตร เนื่องจากไม่สามารถหากำไรจากการเกษตรได้เลย นอกจากนี้เกษตรกรไทยประสบปัญหากับการปรับตัวเพื่อยกระดับการผลิตของตัวเอง ทั้งเทคโนโลยีการเกษตร การปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และการเข้าถึงแหล่งน้ำ ปัญหาเหล่านี้ทำให้ภาคเกษตรไทยมีผลิตภาพในการผลิตพืชทางการเกษตรต่ำ รายได้ไม่พอกับต้นทุนการผลิต

ข้อเสนอ
  • กระจายอำนาจและงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ (เช่น ขุดบ่อ สระน้ำ ชลประทานทางท่อ การใช้ระบบโซลาร์ บ่อบาดาล)
  • กระตุ้นการพัฒนาแหล่งน้ำนอกพื้นที่ชลประทานผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มน้ำกักเก็บ 1,000 ล้านลูกบาศก์ เมตร/ปี ด้วยงบประมาณประมาณ 25,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งจะทำให้ครอบคลุมพื้นที่เกษตรนอกเขตชลประทานเพิ่มขึ้น 4 ล้านไร่/ปี
บอกต่อนโยบาย
สร้างป้ายหาเสียงของคุณ!
ออกแบบป้ายหาเสียงเกี่ยวกับนโยบายของก้าวไกลที่คุณชื่นชอบ เพื่อส่งเสียงให้ก้าวไกลเข้าไปเปลี่ยนแปลงประเทศไทยแบบที่คุณอยากเห็น
----
*โปรดเลือกใช้ภาพของตนเอง โดยไม่ใช่ภาพของบุคคลอื่นที่เป็นการกล่าวหาหรือทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นความเห็นของบุคคลอื่น
ลุย