วศิน
สิริเกียรติกุล
เขต
1
กระบี่
7
เมืองกระบี่
เหนือคลอง
กระบี่น้อยเขาครามเขาทองทับปริกไสไทยอ่าวนางหนองทะเลคลองประสงค์เหนือคลองคลองเขม้าคลองขนานตลิ่งชันเกาะศรีบอยากระบี่ใหญ่ปากน้ำ
คิดไปข้างหน้า เชื่อมทุกโอกาส สร้างกระบี่ที่มีอนาคต
กระบี่ดีกว่านี้ได้
ผมเชื่อว่ากระบี่บ้านเราดีกว่านี้ได้ มีมหาวิทยาลัยคุณภาพใกล้บ้าน มีโรงพยาบาลทันสมัย มีระบบขนส่งสาธารณะครอบคลุม ปฎิรูปที่ดินทำกิน แก้ปัญหาสิทธิที่รัฐทับที่คน มีนำ้ประปาดื่มได้ทุกหมู่บ้าน เชื่อมโอกาสให้คนตัวเล็กทุนน้อยได้ทำมาหากินโดยสะดวก ปลอดการผูกขาดสืบทอดอำนาจเส้นสายจ่ายเงินใต้โต๊ะ ปลอดกลลวงเอาเปรียบประชาชน บีบให้จนก่อนแล้วค่อยมาแจก กดให้โง่แล้วปกครอง ปล่อยให้ป่วยแล้วค่อยรักษา สุดท้ายใช้ภาษีที่รีดพวกเรามาสร้างบุญคุณอีกต่อ
จบปัญหาเหล่านี้ด้วยนโยบายกระจายอำนาจแบบก้าวไกล พัฒนาทุกท้องถิ่นทั้งประเทศไปด้วยกัน บนพื้นฐานที่แข็งแรงของนโยบายรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า
ข้อมูลทั่วไป
การศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนโภคาพาณิชย์นุกูลมูลนิธิ
มัธยมศึกษา โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย KBS 3, โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล UM 41
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ PSU 47
ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ KU 68
แสดงเพิ่มเติม (3)
การทำงาน
รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาช้างป่า สภาผู้แทนราษฎร
ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการ ป.ป.ช. (พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียเวส) สภาผู้แทนราษฎร
ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร
เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร
แสดงเพิ่มเติม (3)
ผลงาน
บทบาทที่ผ่านมาของ วศิน สิริเกียรติกุล ทั้งในสภาและนอกสภา
สภา
งานสภาโดดเด่น
ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาช้างป่า สภาผู้แทนราษฏร
ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการ ป.ป.ช. สภาผู้แทนราษฏร
ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการ พัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฏร
เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ ป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฏร
ที่ปรึกษากรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหายาเสพติด แนวทางจัดตั้งศูนย์บำบัดยาเสพติด การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ
อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและแม่น้ำลำคลอง สภาผู้แทนราษฏร
ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ส.ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร พรรคก้าวไกล
นโยบายสำหรับพื้นที่
วศิน
สิริเกียรติกุล
7
สิ่งที่ฉันต้องการที่จะ เปลี่ยนแปลง และ พัฒนาใน เขต 1 กระบี่ มีดังต่อไปนี้ ...
เขต
1
กระบี่
เมืองกระบี่
เหนือคลอง
ส่งข้อความหาผู้สมัคร
[ วศิน กระบี่ คืนที่ดินประชาชน 10 ล้านไร่ ปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ เปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดอย่างเป็นธรรม ]
.
ปัจจุบัน เกษตรกร จำนวนมากขาดเอกสารสิทธิ์หรือโฉนดในที่ดินที่ตนเองใช้ชีวิตและทำมาหากินมาหลายรุ่น โดยกว่า 1 ล้านคน กำลังประสบปัญหาข้อพิพาทที่ดินกับรัฐ ที่บางกรณียืดเยื้อมาหลายสิบปี และถูกซ้ำเติมโดยนโยบายของรัฐที่ผ่านมา (ป่าอนุรักษ์ 300,000-400,000 ราย / ป่าสงวนแห่งชาติ 400,000-500,000 ราย / ที่ราชพัสดุ 100,000-200,000 ราย / ที่ดิน ส.ป.ก. 200,000-300,000 ราย)
.
นอกจากจะขาดความมั่นคงขั้นพื้นฐานในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว การขาดเอกสารสิทธิ์ยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา เพราะทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบ ขาดแรงจูงใจในการลงทุนพัฒนาพื้นที่เพื่อผลตอบแทนในระยะยาว และ ไม่มีทางเลือกในการโอนสิทธิหรือขายที่ดินเพื่อย้ายถิ่นฐานเพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า
.
แม้เกษตรกรที่มีที่ดิน ส.ป.ก. ก็ยังไม่มีความมั่นคงในการถือครองที่ดิน เพราะเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นเอกสารสิทธิ์ที่มีข้อจำกัดในการเปลี่ยนมือการครอบครอง โดยห้ามซื้อขายเปลี่ยนมือ (ยกเว้นแต่การถ่ายโอนตามมรดกให้กับทายาท ที่ยังมีเงื่อนไขอีกหลายประการ) ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ยกเว้นกับ ธกส.) และการเปลี่ยนพื้นที่ทำกินและเปลี่ยนอาชีพของพี่น้องเกษตรกร - ในทางปฏิบัติ ข้อจำกัดดังกล่าวที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ที่ดิน ส.ป.ก. เปลี่ยนมือ กลับกลายเป็นกลไกที่เปิดช่องให้นายทุนบางรายเข้ามารวบรวมที่ดิน ส.ป.ก. จากเกษตรกรได้ในราคาถูกนอกกระบวนการกฎหมาย เนื่องจากเกษตรกรไม่มีทางเลือกในการขายที่ดินในราคาที่เหมาะสมผ่านกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย
.
ทั้งหมดนี้ยังสะท้อนและซ้ำเติมถึงปัญหาในภาพรวมของประเทศเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในการครอบครองที่ดิน โดย 80% ของที่ดินทั้งหมดกระจุกอยู่ที่คนที่รวยที่สุด 5% ในขณะที่ 75% ของคนไทย ไม่มีที่ดินของตนเอง
.
หากต้องการจะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร การรับประกันความมั่นคงในที่ดินทำกิน จึงเป็นกระดุมเม็ดแรกและจุดเริ่มต้นที่สำคัญ
.
พรรคก้าวไกลจึงตั้งเป้าในการคืนที่ดินประชาชน 10 ล้านไร่ ด้วยการปฏิรูปที่ดินทั้งระบบด้วย 5 มาตรการดังต่อไปนี้
.
1. กองทุนพิสูจน์สิทธิ 10,000 ล้านบาท ยุติข้อพิพาท-ออกเอกสารสิทธิ์ให้เกษตรกร
.
เร่งแก้ปัญหาข้อพิพาทที่ดิน โดยมีเป้าหมายในการออกเอกสารสิทธิ์รวมกัน 10 ล้านไร่ ภายใน 4 ปี ให้เกษตรกรและประชาชนที่ผ่านการพิสูจน์สิทธิ ด้วยการ:
.
- (i) ตั้งกองทุนพิสูจน์สิทธิ 10,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มบุคลากร อุปกรณ์ และ ระบบ RTK รังวัดที่ดินด้วยดาวเทียม ที่ต้องใช้ในกระบวนการพิสูจน์สิทธิให้ประชาชน
- (ii) ยกเครื่องกฎหมายที่ดินทั้งหมด 7 ฉบับ เพื่อแก้ไม่ให้มีการลิดรอนสิทธิในการครอบครองที่ดินของประชาชนที่พักอาศัยหรือทำมาหากินในที่ดินดังกล่าวมาก่อน
.
2. เปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดอย่างเป็นธรรม
.
ปลดล็อกที่ดิน ส.ป.ก. โดยการเปลี่ยนที่ดิน ส.ป.ก. ให้เป็นโฉนด อย่างเป็นธรรม ด้วยเงื่อนไขดังต่อไปนี้:
.
(i) หากผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน ตรงกัน: ออกโฉนดที่ดินได้เลย
.
- ภายใน 5 ปีแรก: โอนมรดกได้ แต่หากจะขายหรือจำนอง ต้องดำเนินการผ่านธนาคารที่ดิน
- หลัง 5 ปีผ่านไป: ทำธุรกรรมได้เหมือนกับโฉนดที่ดินทั่วไป
.
(ii) หากผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่ตรงกัน: ออกโฉนดที่ดินต่อเมื่อ
.
- (1) เป็นผู้ที่มีหลักฐานใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี และ
- (2) เป็นผู้ที่มีหลักฐานข้อตกลงระหว่างผู้ได้รับสิทธิเดิมกับผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินจริง และ
- (3) เป็นผู้ที่มีทรัพย์สินทั้งหมดไม่เกิน 10 ล้านบาท (ไม่นับรวมมูลค่าของที่ดิน ส.ป.ก. ที่กำลังจะเปลี่ยนเป็นโฉนด)
.
- สำหรับกรณีที่ใช้ที่ดินที่ผ่านมาเพื่อการเกษตร: ได้รับการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดได้ไม่เกิน 50 ไร่
- สำหรับกรณีที่ใช้ที่ดินที่ผ่านมาเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ นอกจากการเกษตร: ได้รับการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด เฉพาะผู้ที่ครอบครองที่ดินรวมกันทั้งหมด (ทั้งโฉนดที่ดินแปลงอื่นๆ และ ส.ป.ก. ที่จะถูกเปลี่ยนเป็นโฉนด) ไม่เกิน 50 ไร่
.
- ภายใน 10 ปีแรก: โอนมรดกได้ แต่หากจะขายหรือจำนอง ต้องดำเนินการผ่านธนาคารที่ดิน
- หลัง 10 ปีผ่านไป: ทำธุรกรรมได้เหมือนกับโฉนดที่ดินทั่วไป
.
ที่ดินส่วนที่เกิน 50 ไร่ (ตามเงื่อนไขข้างบน) หรือได้มาแบบผิดกฎหมาย จะถูกนำเข้าสู่ธนาคารที่ดินเพื่อนำมากระจายให้กับประชาชน เช่น เกษตรกรรายย่อย สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่ประสงค์เช่าใช้ประโยชน์
.
3. เปลี่ยน นิคมสหกรณ์ เป็นโฉนดทันที
.
เร่งเปลี่ยนที่ดินนิคมสหกรณ์ทุกแห่งทั่วประเทศ เป็นเอกสารสิทธิ์หรือโฉนดให้เกษตรกรและประชาชนทันที
.
4. ตั้งธนาคารที่ดิน กระจายการถือครองที่ดินให้ประชาชน
.
จัดตั้งธนาคารที่ดิน เพื่อสนับสนุนการกระจายการถือครองที่ดินให้ประชาชนผ่าน 3 บทบาทหลัก:
.
- (1) รับจำนองและรับซื้อที่ดิน ที่อยู่ในช่วงห้ามซื้อขาย (5-10 ปี)
- (2) บริหารจัดการที่ดินส่วนเกิน (เช่น ที่ดิน ส.ป.ก. ของนายทุนขนาดใหญ่) เพื่อกระจายให้ชุมชนและเกษตรกร
- (3) กระจายการถือครองที่ดินให้เกษตรกรรายใหม่ ในรูปแบบต่างๆ (เช่น เช่าซื้อ)
.
5. เปลี่ยนระบบภาษีที่ดิน กระจายที่ดินออกจากมือนายทุน
.
ปรับปรุงประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีที่ดิน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการครอบครองที่ดิน:
.
- (1) พัฒนาระบบภาษีที่ดินแบบรวมแปลง (รวมมูลค่าที่ดินทั้งหมดที่แต่ละบุคคล/นิติบุคคลถืออยู่) แล้วจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า โดยคิดจากมูลค่าที่ดินที่เกิน 300 ล้านบาท
- (2) ปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีที่ดินแบบรายแปลง (แบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยง
- (3) ลดหย่อนหรือส่วนลดภาษีที่ดิน (Negative Land Tax) สำหรับพื้นที่ที่ถูกใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ (เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่อนุรักษ์ระบบนิเวศ พื้นที่สาธารณะ) ตามระยะเวลาที่ตกลงกัน (3-5 ปี)
#เปลี่ยนส.ป.ก.เป็นโฉนด
#สี่ปีใส่ที_กระบี่ต้องไม่เหมือนเดิม
#เลือกวศินให้ชนะขาดเชื่อมทุกโอกาสสร้างกระบี่ที่มีอนาคต
#กระบี่จะเปลี่ยนไปกาXก้าวไกลประเทศไทยไม่เหมือนเดิม
วศิน
สิริเกียรติกุล
เขต
1
กระบี่
7
เมืองกระบี่
เหนือคลอง
กระบี่น้อยเขาครามเขาทองทับปริกไสไทยอ่าวนางหนองทะเลคลองประสงค์เหนือคลองคลองเขม้าคลองขนานตลิ่งชันเกาะศรีบอยากระบี่ใหญ่ปากน้ำ
ส่ง Email หาผู้สมัคร
ส่งข้อความหาฉัน
คุณต้องการให้เขต 1 กระบี่
มีอะไรเปลี่ยนหรือว่าพัฒนาให้ดีขึ้นมากกว่าเดิม
หมวดหมู่
ข้อความ
ชื่อ
ส่งข้อความ
บริจาคให้ผู้สมัคร